แผ่นจารึกนี้เป็นอนุสรณ์ให้ท่านเวียรี่

ดันลอปในฐานะที่ท่านเป็นผู้นำที่ดีและมีความพิถีพิถันกับการดูแลเหล่าเชลยสงครามที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของท่านทุกวันวิศวกรญี่ปุ่นจะเข้ามาขอจำนวนแรงงานที่ต้องการตามงานแต่ละวันและแต่ละวัน แพทย์ต้องถูกบังคับให้ตัดสินใจว่าแรงงานคนที่ติดโรคมาลาเรียคนใดหนักหนาสาหัสกว่าแรงงานอีกคนที่มีแผลพุพองจนมีหนอนขึ้นที่เท้าอีกคนหรือบางครั้งอาการโรคเหน็บชาของอีกคนมีความสาหัสมากกว่าโรคไข้เลือดออกของอีกคนทั้งนี้เพื่อเลือกคนที่ป่วยน้อยที่สุดไปทำงาน ไม่ว่าจะวัดด้วยมาตรอะไรท่านเวียรี่ดันลอป เป็นคนที่พิเศษคนหนึ่งจริงๆ

 

ตามที่นายแพทย์ลอยด์ คาร์ จำความได้เมื่อมีโอกาสพบกับท่านท่านเล่าว่า

เวลาเดียวที่ผมจำชายผู้ยิ่งใหญ่จากนครเมลเบิร์นได้ก็คือ

ตอนที่ท่านพูดกับผมแล้วนายทหารญี่ปุ่นตัวเล็กเดินเข้ามา

ตะคอกอะไรก็ไม่ทราบหรอกครับใส่ท่าน

แต่ท่านไม่สนใจทหารญี่ปุ่นคนนั้น

และเจ้าญี่ปุ่นนายนี้ก็เดินออกไป

แล้วกลับเข้ามาพร้อมละครอีกฉากหนึ่ง

แต่ท่านเวียรี่ไม่สนใจอีกในที่สุดทหารญี่ปุ่นก็เล่นไม้ตาย

เอาก้านไม้ไผ่มาตีท่านเวียรี่ที่บริเวณน่อง

แต่ท่านเวียรี่ก็ไม่สนใจอีกทหารญี่ปุ่นไม่สามารถทำให้ท่านโกรธได้

ในที่สุดก็ต้องละจากไปเองท่านเป็นคนที่พิเศษน่าประทับใจจริงๆ”

 

มีแพทย์ชาวออสเตรเลียอังกฤษดัทช์

 

และอเมริกันประมาณสิบสองท่านเห็นจะได้ในช่วงที่สร้างทางรถไฟสายนี้ เช้าแต่ละวันพวกเขาจะต้องสวมบทของพระผู้เป็นเจ้าไปชี้ชะตาชีวิตของเหล่าเพื่อนทหารว่า ท่านใดที่เจ็บป่วยเกินกว่าจะไปทำงานได้ดังที่

 

คุณบิลดันน์

อธิบายไว้ว่ามาตรวัดของความสามารถของแรงงานคนหนึ่งบางครั้งวัดจากจำนวนเลือดที่ออกมาจากอุจจาระของเขา

การคัดเลือกคนไปทำงานพวกนั้นไม่ยอมรับว่าเชลยป่วย

                ดังนั้นนายแพทย์คนเดียวที่เรามีอยู่คือนายแพทย์พาร์คเกอร์

                ได้พยายามปกป้องผู้ที่ป่วยหนักด้วยวิธีการต่างๆ

                แต่ก็มีความยากลำบากมากอยู่เหมือนกัน

                พวกผู้คุมซึ่งไม่มีความรู้ด้านการแพทย์เลย

                แน่นอนที่สุด ตอนพวกเราถูกเกณฑ์ไปใช้แรงงานตอนเช้าตรู่

                ต้องมานั่งถ่ายอุจจาระกองบนพื้นเพื่อให้พวกนี้ดูว่า ในอุจจาระนะมีเลือดหรือไม่

                หากพวกผู้คุมเห็นว่ามีเลือด 50% แสดงว่าแข็งแรงพอจะทำงานได้

                หากมีเลือด 80% ก็จะได้พักหนึ่งวัน

                และนั่นเป็นเพียงวิธีเดียวที่ตัดสินว่าใครต้องไปทำงาน

                และก็เป็นวิธีเดียวที่จะให้ผู้เหนื่อยได้พักเอาแรง”

นายแพทย์ก็ถูกบังคับให้ใช้การรักษาด้วยเครื่องมือแพทย์พื้นฐานแบบโบราณส่วนยานั้นแทบไม่ต้องพูดถึงเลยเพราะไม่มียาจ่ายให้ผู้ป่วย

นายแพทย์โรวลี่ ริชาร์ดส์ขยายความเรื่องนี้ต่อว่า

 

“คืออย่างนี้ครับนี่เป็นปัญญาแต่เราต้องใช้หัวคิดตลอดเวลา

                ยกตัวอย่างเช่นผ้าพันแผลเราต้องฉีกผ้าปูเตียงเพราะมันขาดวิ่นจนไม่สามารถใช้งานได้แล้ว

                หรือแม้แต่มุ้งกันยุงผ้าห่มหรืออะไรก็ได้ที่ฉีกเป็นแถบได้เราก็เอามาต้มฆ่าเชื้อ

                และต้มซ้ำเล่าซ้ำเล่าและเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยที่มีอาการโรคบิดท้องร่วง

                ให้หายปวดท้องผมต้องให้คนที่ไม่ป่วยไปทำถ่านจากการเผาฟืน...

                ถ่านนี้นะเป็นยาช่วยแก้ปวดท้องได้ หรืออย่างน้อยช่วยผู้ป่วยทางใจได้ก็ยังดี”

 

ความอุตสาหะเยี่ยงวีรบุรุษของเหล่านายแพทย์ได้รับการส่งเสริมด้วยฝ่ายออเดอร์ไลน์ซึ่งเป็นฝ่ายให้กำลังใจผู้ใกล้เสียชีวิตไม่ได้รับการฝึกฝนมาก่อนแต่ปฏิบัติงานตามความใจบุญของตน

                ท่านเซอร์จอห์นคาร์ริก จำการทำงานของท่านกับผู้ป่วยใกล้ตายได้ว่า

 

“กลุ่มอาสากลุ่มนี้จะกอดผู้ป่วยไว้

                และก็ให้ซึ่งความรักซึ่งเป็นความรักแท้ๆ

                ต่อเพื่อนมนุษย์ที่กำลังจะสิ้นใจความตาย

                มิใช่สิ่งที่ทุกคนจะกลัวเหมือนกลัวการติดเชื้อ

                ทุกคนยอมรับความตายกันหมด

                มันเป็นสิ่งน่าเกลียดน่าชัง แต่ทุกคนก็ต้องยอมรับมัน

 

ทุกคนที่มาสร้างทางรถไฟสายพม่า – ไทยสายนี้

 

ล้วนเคยป่วยเป็นโรคท้องร่วงมาแล้วทั้งสิ้นอีกทั้งโรคมาลาเรียที่เป็นแล้วเป็นอีกเช่นเดียวกันโรคประเภทอื่นๆ

คุณบิลดันน์เล่าให้ฟังว่า

“มันเป็นเรื่องตลกมากผมถูกมาลาเรียจู่โจม 43 ครั้ง...

                เมื่อผมพูดว่าผมถูกจู่โจมนั้นผมหมายถึงว่าโรคกำเริบมากกว่า

                เพราะผมเคยเป็นไข้สูงจนเพ้อสองครั้งผมเคยพูดอยู่เสมอว่า

                ถ้าผมออกไปจากที่นี่ได้และถูกมาลาเรียจู่โจมอีก

                ผมต้องขอผ้าปูเตียงหมอนและผ้าห่ม

                อาทิตย์แรกที่ผมหลุดไปได้ผมเป็นไข้มาลาเรียจริงๆ

                ผมเข้าโรงพยาบาลกรุงเทพ

                และผมก็ได้ทุกอย่างที่ขอผมรู้สึกดีขึ้นจริงๆ”

 

ท่านเวียรี่ดันลอปได้กลายเป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงที่สุดแต่ความจริงแล้วยังมีนายแพทย์ที่ให้ความประทับใจเพื่อนเชลยด้วยกันดังเช่นคุณเควินเฟเก็นและคุณบรูสฮั้นท์ต่างก็ได้รับความนับถือไม่แพ้ท่านเวียรี่ นายแพทย์บนทางรถไฟสายมรณะสายนี้ต่างก็ได้รับความนับถือว่าเป็นวีรบุรุษและนักบุญด้วยกันทั้งสิ้นพวกเขาต้องเสียสละต้องตกทุกข์ได้ยากพร้อมกับพวกเชลยและต้องรักษาทั้งร่างกายและวิญญาณของเหล่าชายเชลยผู้ซึ่งต้องทำงานตรากตรำหิวโหยและเสียชีวิตเพื่อสังเวยต่อทางรถไฟสายอาภัพที่เชื่อมเส้นทางระหว่างไทยและพม่าเส้นนี้

โรคที่ทุกคนกลัวที่สุดคืออหิวาตกโรคหากท่านต้องการทราบว่าอหิวาตกโรคเข้าจู่โจมสวาปามแรงงานผู้สร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะนี้อย่างไรกรุณากดหมายเลข701

701อหิวาตกโรค

ในเดือนพฤษภาคมปีพ.ศ. 2486 อหิวาตกโรคระบาดทั่วเส้นทางรถไฟสายนี้ด้วยความโหดร้ายและทารุณอย่างน่าสยดสยองที่สุด

                คุณบิลแฮสเกลล์   ให้คำบรรยายเรื่องโรคนี้ว่า

 

“ คืออย่างนี้ครับอหิวาตกโรคมีผลต่อระบบของเหลวในร่างกายเรา

                ถ้าร่างกายคุณขับสารคัดหลั่งสีขาวออกจากร่างกายนั่นคือถ่ายอุจจาระ

                หรืออาเจียนจนของเหลวเป็นสีขาวอย่างรวดเร็ว

                ผมหมายถึงว่ามันจะทำให้ร่างกายของคุณขาดน้ำอย่างรวดเร็ว

                แม้เพื่อนสนิทคุณก็จะจำไม่ได้ถ้าคุณเจอโรคนี้จู่โจมเข้ามา

                เพราะว่าโรคนี้จะขับของเหลวออกจากร่างกายของคุณอย่างรวดเร็ว

                คุณจะมีรอยเหี่ยวย่นน้อยแต่ว่ากระบอกตาของคุณจะถลนโปนออกมามันน่ากลัวมาก

                ในระยะเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงมันจะทำให้คนร่างกายที่แข็งแรงล่ำสัน

                กลับกลายเป็นคนอ่อนแรงปวกเปียกได้ เพราะหากร่างกายคนเราขับของเหลวออก

                เกลือแร่และสิ่งต่างๆก็จะถูกขับออกมาด้วย

                เมื่อคุณขาดเกลือกล้ามเนื้อของคุณก็จะกระตุกและก็เป็นตะคริว

                ต่อจากนั้นก็มีแต่อาการแย่ลงแย่ลง

                ท้องท่อนขาและแขนก็จะบิดงอตามอาการของการเป็นตะคริวไป ”

 

หมอในค่ายจึงถูกบังคับให้คิดวิธีในการให้น้ำกับผู้ป่วยอหิวาตกโรค

                นายแพทย์ โรวลี่ ริชาร์ดส์ จำความได้ว่า

                “ สิ่งสำคัญก็คือต้องให้ของเหลวเข้าทางเส้นเลือดเข็มที่เรามีอยู่ก็ใช้ไม่ได้

                ในค่ายที่เราอยู่ มักมีคนที่คอยให้ความช่วยเหลือเราอยู่เสมอ

                พวกเขาจะหักท่อทองเหลืองจากรถบรรทุกของพวกทหารญี่ปุ่น

                หรือไม่ก็จากที่ไหนก็ตามเถอะแล้วพวกเขาก็จะพยายามทำท่อให้เป็นเข็มเล็กๆ

                เพื่อให้ใช้ฉีดเข้าทางเส้นเลือดได้และก็เพื่อให้เราฉีดของเหลวเข้าร่างกายผู้ป่วยได้”

 

                คุณสแตนอาร์นีลจดสมุดบันทึกของเรื่องความโหดร้ายประจำวันตอนหนึ่งไว้ว่า

                วันที่ 18 พฤษภาคมเชลยนามหนึ่งเสียชีวิตเมื่อคืนนี้ จากอหิวาตกโรค

                วันที่ 20 พฤษภาคมอหิวาตกโรคกรณีใหม่ 4 ราย

                วันที่  21 พฤษภาคมเสียชีวิตอีกสองรายด้วยอหิวาตกโรค

                วันที่ 22 พฤษภาคมเชลยเสียชีวิตอีกหนึ่งรายเมื่อคืนด้วยอหิวาตกโรค

                วันที่ 23 พฤษภาคมเช้าวันนี้มีกรณีสงสัยอหิวาตกโรคอีกสี่ราย

 

ทุกๆวันจำนวนจะทวีมากขึ้นจนวันที่ 25 มีสามรายวันที่ 26 มีห้ารายและวันที่ 27 มี12 รายศพจะถูกเผาบริเวณเมรกองฟืนซึ่งเผาไปทั้งวันตลอดเดือนแห่งความมรณะเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนจากทุกกลุ่มที่ถูกบังคับให้ทำงานบนทางรถไฟสายนี้

ชาวออสเตรเลีย สามารถควบคุมสถานการณ์ที่น่ากลัวของอหิวาตกโรคได้ดีกว่าเพื่อนพวกเขาเข้มงวดเรื่องสุขอนามัยที่สุดเท่าที่ทำได้ไม่มีใครกินอาหารก่อนลวกภาชนะเชลยชาติอื่นถึงกับนำวิธีปฏิบัตินี้ไปใช้ตาม

 

 

 

 

Go to top
JSN Dona 2 is designed by JoomlaShine.com | powered by JSN Sun Framework