ค่ายหินตกอยู่ห่างจากตำแหน่งนี้ไปทางเหนือ 5

กิโลเมตรสภาพของค่ายตลอดระยะทางจากที่นี่มีตั้งแต่สภาพเหลือขอไปจนถึงสภาพน่าสะพรึงกลัวโดยทั่วไปแล้วยิ่งใกล้กับช่วงกลางของทางรถไฟค่ายที่พักจะยิ่งมีสภาพที่ย่ำแย่ลงค่ายหินตกเป็นค่ายที่แย่ที่สุดแห่งหนึ่งในแต่ละช่วงของรางรถไฟที่สร้างเสร็จแล้วกลุ่มเชลยศึกและกลุ่มกรรมกรจะถูกย้ายไปอยู่ยังค่ายต่อไปและบ่อยครั้งที่ต้องทิ้งคนที่ตายหรือกำลังจะตายไว้ค่ายพวกนี้ก็คือที่พักที่เกิดจากการถางพื้นที่ป่าข้างๆทางเดินและอยู่ห่างกันประมาณ 20

กิโลเมตรพวกเชลยศึกนอนในกระท่อมที่ทำจากไม้ไผ่ผูกติดกันด้วยเถาวัลย์และเส้นใยจากต้นปาล์มกระท่อมพวกนี้มีหลังคาที่ทำจากใบปาล์มซ้อนๆกันพวกเขาจะนอนบนตั่งไม้ไผ่สานคุณเรย์พาร์คินขยายความให้ฟังว่าเตียงไม้ไผ่นี้หยาบเสียยิ่งกว่าเตียงที่มนุษย์ยุคหินนอนเสียอีกเมื่อถึงคราวที่เชลยเหล่านี้ต้องตั้งค่ายใหม่ขึ้นกระท่อมหลังเดิมบางครั้งจะมีสภาพผุพังจนพวกเขาแทบต้องเลือกนอนบนพื้นกัน

คุณรอยดอนคอร์นฟอร์ดผู้ซึ่งภายหลังรอดชีวิตจากเหตุการณ์เรือสินค้าญี่ปุ่นราคูโยมาลูล่มเมื่อปีพ.ศ. 2487เล่าให้ฟังว่า

... หากคุณไม่มีกระสอบข้าวเก่าสักใบ

คุณก็จะต้องนอนบนแผ่นพื้นไม้นั้น

ผมเคยเจอกับหลายๆคนที่ต้องนอนบนพื้น

พวกเขาต้องล้มป่วยเป็นโรคปอดบวม

โดยเริ่มจากอาการของเยื่อหุ้มปอดอักเสบก่อนแล้วตามด้วยปอดบวมทีหลัง

และแล้วในที่สุดก็เสียชีวิตไป ทั้งหมดนี้เริ่มต้นจากการนอนบนพื้น

... แต่ผมต้องยอมรับว่าผมมีกระสอบใส่ข้าวโพด

และก็ผมทำเปลโดยตั้งเสาขึ้นมาสองต้นสำหรับผูกเปล

ที่นั่นคุณยังต้องเจอกับแมลงเห็บและก็หมัดบริเวณที่ที่คุณนอนอยู่ตลอดเวลา

แต่คุณสามารถเก็บตัวเห็บบนตัวคุณวันรุ่งขึ้นได้เสมอ

และแล้วก็มาถึงเรื่องน้ำดื่มสะอาดและสุขอนามัยส่วนตัวในช่วงวันแรกๆเชลยศึกชาวออสเตรเลียเป็นผู้มีชื่อเสียงและเป็นที่น่าอิจฉาในเรื่องการประดิษฐ์ใช้ระบบสุขาภิบาลด้วยต้นไผ่พวกเขาสร้างฝักบัวอาบน้ำที่ปัสสาวะและโถส้วมที่มีที่นั่งทำจากไม้ไผ่แต่เมื่อถึงฤดูลมมรสุมเข้าและช่วงที่การทำงานแบบสปีโดถูกออกบังคับใช้กลิ่นจากส้วมที่ค่ายตามรอยทางเดินพวกเราเข้าป่าไปได้ถึง 200

เมตรเลยทีเดียวแมลงวันจำนวนนับหมื่นนับแสนรุมตอมห้องส้วมเสียมิดจนพวกที่เป็นโรคบิดอะมีบาและโรคท้องร่วงเรื้อรังไม่สามารถหาห้องส้วมได้เจอในที่มืดเลยบางครั้งฝนตกน้ำท่วมส้วมจนของเสียล้นกระจายออกมาปนเปื้อนกับโคลนรอบๆพื้นที่

ค่ายภูเขาหินตกเป็นค่ายของชาวออสเตรเลียถึงแม้ว่าจะอยู่ฝั่งตรงข้ามลำธารจากค่ายเชลยชาวอังกฤษแต่ก็เป็นสถานที่ที่ท่านเวียรี่ดันลอปได้แสดงทักษะความเป็นผู้นำอย่างโดดเด่นให้ประจักษ์

คุณทอมอูเรนจำความได้ว่า

“เวลาส่วนมากของพวกเราที่ค่ายภูเขาหินตก

ท่านเวียรี่ได้วางกฎเกณฑ์เอาไว้

และสามารถทำให้เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นเชื่อมั่นได้ด้วยว่า

จะต้องนำเงินที่จ่ายให้เชลยทหารและหน่วยแพทย์มาเก็บไว้ที่กองกลาง

ทหารญี่ปุ่นจะต้องจ่ายเจ้าหน้าที่ของเราและค่าเวชภัณฑ์ตามสัญญาเจนีวา

และทุกนาทีที่เราทำงานพวกนี้ก็จะได้เงินมากขึ้น

แต่ว่าต้องนำมาเก็บไว้กับกองกลาง

และด้วยเงินก้อนนี้ท่านเวียรี่ก็สามารถส่งคนเข้าไปในป่าได้

เพื่อไปซื้อขายกับพ่อค้าคนจีนและคนไทย

พวกเขาซื้อยาและอาหารให้คนอ่อนแอและคนป่วยของเรา

ในค่ายนี้คนที่แข็งแรงกว่าดูแลผู้ที่อ่อนแอกว่า

คนที่อายุน้อยกว่าก็ดูแลคนที่แก่กว่า

นี่ละคือวิญญาณของนักรวบรวมภายใต้การนำของท่านเวียรี่

และก็ผมจะไม่ลืมเรื่องนี้เลย

หินตกเป็นสถานีบนทางที่เชลยศึกต้องตั้งแถวเดินผ่าน

คุณบิลแฮสเกลล์เล่าให้ฟังเรื่องที่กลุ่มเชลยมักถูกจับแยกว่า

ความคิดนี้ก็คือพวกเขาคิดว่ามีค่ายที่กระจายตลอดระยะความยาวของทางรถไฟมากมาย

แต่จะมีการกันไม่ให้เชลยมีโอกาสพูดคุยกันกับกลุ่มอื่น

นอกจากเมื่อมีหน่วยอย่างเอฟฟอร์ส

เมื่อเขาตั้งแถวเดินมาตามทางและก็ผ่านค่ายของเรา

เราจึงมีโอกาสพูดคุยกับเขาในโอกาสต่างๆกัน”

ชาวออสเตรเลียที่ถูกบังคับให้สร้างทางรถไฟนี้

จะถูกสั่งงานประเภทที่หนักจนหลังแทบหักและเอาชีวิตแทบไม่รอดทั้งสิ้นเช่นถูกสั่งให้ขุดเจาะหลุมลึกบริเวณชั้นหินทรายแข็งและถูกสั่งให้สร้างขอบตลิ่งบนพื้นหินที่ขรุขระ

 

Go to top
JSN Dona 2 is designed by JoomlaShine.com | powered by JSN Sun Framework