กรุณามองดูรอยตัดหินตามยาวที่ข้างล่างแล้วใช้เวลาเล็กน้อยไตร่ตรองดูว่าแรงงานเหล่านี้ทำได้อย่างไรตั้งแต่การเจาะผ่านชั้นหินแข็งตามภูเขาหินถึงการเปิดทางที่ต้องมีความกว้างพอให้รถไฟวิ่งผ่านได้ความมหัศจรรย์เกินมนุษย์นี้ทำได้สำเร็จด้วยความมุ่งมั่นของฝ่ายหนึ่งแต่ด้วยความสยดสยองของอีกฝ่ายหนึ่งทุกๆมิลลิเมตรถูกตัดถูกเจาะและขนย้ายด้วยมือเปล่าๆทั้งสิ้นผลงานที่โหดเหี้ยมนี้เกิดจากการควบคุมงานของผู้คุมชาวญี่ปุ่นและเกาหลีแต่วิศวกรญี่ปุ่นเป็นฝ่ายออกแบบและจัดการด้านรายละเอียดทั้งหมดการสั่งการมีขั้นตอนที่เข้มงวดมีวิศวกรอยู่ส่วนบนสุดของแนวการสั่งการโดยที่ผู้คุมงานชาวเกาหลีอยู่ขั้นต่ำสุดเหนือเชลยสงครามเพียงขั้นเดียวยศแต่ละระดับสามารถลงโทษทุบตียศที่อยู่ระดับต่ำกว่าได้การลงโทษด้วยการใช้กำลังแบบป่าเถื่อนนี้มักเกิดขึ้นกับเชลยที่อ่อนกำลังและถูกโรคคุกคามก่อนไม่มีใครบังอาจหยุดงานตนเองเพื่อช่วยเพื่อนได้แรงงานที่เป็นโรคบิดหรือท้องร่วงจะต้องได้รับอนุญาตก่อนให้ไปปลดทุกข์ในป่าได้มีการประมาณกันไว้ว่าแรงงานถึง 70 คนที่ทำงานในหน่วยนี้ถูกสังหารโดยผู้คุมโดยที่คนอื่นๆถูกซ้อมตีอย่างหนักหน่วงจนต้องเข้าโรงพยาบาลไปรักษาตัวเป็นเดือนผู้คุมทุกคนถูกตั้งชื่อเล่นให้หมดเช่นเจ้าอ้วนเจ้าหัวแบนเจ้ามือพองหนองพุ เจ้าหมอแห่งความตายและเจ้าวิตถ

คุณบิลดันน์ให้คำอธิบายเรื่องนี้ว่า

                “...มีผู้คุมบางคนที่เป็นประเภทวายร้ายมีอยู่คนหนึ่ง

                เรารู้จักกันในชื่อว่าแบทเทิลกองหรือฆ้องสนามรบ

                พวกเราตั้งชื่อเขาเช่นนี้

                เพราะเขาเสียนิ้วมือไปสามนิ้วตอนไปรบที่ประเทศจีน

                เขาถือแส้หนังยาวประมาณสองฟุตได้

                และอาจเฆี่ยนคุณด้วยแส้ของเขาได้ทุกเวลา

                คนนี้เป็นคนที่เลวที่สุด

                และก็ส่วนอีกคนหนึ่งพวกเราเรียกเขาว่าไซเลนท์แบชเชอร์หรือมือเฆี่ยนเงียบ

                ขณะที่พวกเราต้องเดินผ่านเจ้าหมอเดินผ่านเข้าไปที่พื้นที่ทำงานในตอนเช้า

                มันอาจเดินเข้ามาชกพวกเราที่คางซ้ายหรือขวาก็ได้

                และในเวลากลางคืนขากลับประมาณสี่ทุ่ม

                เจ้าหมอนี่ก็จะมาซ้อมพวกเราไม่ที่คางซ้ายก็ขวาอีกรอบ

                ตลอดเวลาสามเดือนที่เราอยู่ที่นั่นเจ้าหมอนี่ไม่เคยปริปากพูดกับใครซักคำเดียว

                นี่แหละเป็นที่มาของชื่อของนายคนนี้ที่ว่า ไซเลนท์ แบชเชอร์”

 

เชลยสงครามที่ถูกเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟถูกแบ่งแยกตามสัญชาติตั้งแต่ตอนแรกของการถูกจับพวกเขาจะคงยศทหารตามเดิมไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างการสั่งการหรือการลงโทษเจ้าหน้าที่พันธมิตรจะเป็นผู้ตอบรับต่อทหารญี่ปุ่นและจะมีหน้าที่รับผิดชอบบริหารค่ายและดูแลทหารภายใต้การบังคับบัญชาของตนหลายคนมีความเชื่อว่าทหารชาวออสเตรเลียรอดพ้นจากเหตุการณ์นี้มาได้ดีกว่าเพื่อนชาวอังกฤษหรือชาวดัทช์เนื่องจากการแบ่งยศในกองทหารไม่มีความหนักหน่วงเท่าและเนื่องจากไม่มีแนวคิดในเรื่องการแบ่งชนชั้นและสีผิวแม้แต่นายทหารที่ไม่ยอมอ่อนน้อมก็เข้าใจว่าความอยู่รอดของเขาขึ้นอยู่กับวินัยทหารเท่านั้นแรงงานชาวเอเชียที่ถูกเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟนี้ขาดความสามัคคีภายในกลุ่มหลายคนมาพร้อมภรรยาและลูกพวกเขาไม่รู้จักสุขอนามัยไม่มีระบบการแพทย์และไม่มีผู้นำกลุ่มพวกนี้จะทำงานต่อแม้จะหมดอายุสัญญาสามเดือนไปแล้วกลุ่มแรงงานนี้มีสภาพที่ย่ำแย่กว่ากลุ่มเชลยสงครามอีกพวกนี้จะถูกอหิวาตกโรคคุกคามซึ่งเป็นโรคที่ทุกคนกลัวที่สุดคนส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตบนทางรถไฟสายนี้คือชาวเอเชียไม่มีใครทราบว่าชาวเอเชียที่เสียชีวิตไปนี้มีจำนวนเท่าไรแต่มีการประมาณจำนวนไว้ที่ 90,000 คน

 

ร้อยเอกลอยด์คาร์นายแพทย์ชาวออสเตรเลียจำภาพที่น่ากลัวจากค่ายชาวเอเชียได้ว่า

 

                                                                “หลังจากที่พวกเราโดนอหิวาตกโรคและรักษาหายกันไปรอบแรก

                พวกทหารญี่ปุ่นก็ได้ความคิดด้วยการเกณฑ์พวกแขกอินเดียและแขกมาเลย์

                ทั้งหมดมาทำงานที่นี่แต่พวกนี้มาเจออหิวาตกโรคระบาด

                ครั้งนี้ระบาดกันไปทั่วเลยพวกเราก็ต้องกลับไปอยู่ในวงโรคระบาดอีกครั้งหนึ่ง

                แล้วหลังจากนั้นประมาณสามวันทหารญี่ปุ่นก็อนุญาตให้ผมไปดูว่าที่นั่นเป็นอย่างไร

                ผมก็เลยไปและผมก็ได้พบภาพที่น่าสะพรึงกลัวและน่าขนลุกขนพองที่สุดเลย

                หญิงแม่ลูกอ่อนหลายคนที่อยู่ที่นั่นป่วยครับ ป่วยจนเสียชีวิต

                ลูกเล็กๆกำลังร้องคลานหาเต้านมแม่ส่วนพ่อแม่เด็กก็ตายหมดแล้ว

                ผมไม่เคยเห็นสภาพแบบนี้มาก่อนเลยในชีวิต

                แล้วพวกทหารญี่ปุ่นก็เฝ้าแต่บอกห้ามไม่ให้ผมทำอะไร”

 

 

Go to top
JSN Dona 2 is designed by JoomlaShine.com | powered by JSN Sun Framework