ในวันที่16 ตุลาคมพ.ศ. 2486 สิบห้าเดือนหลังจากการเริ่มต้นของงานสร้างทางรถไฟปลายทั้งสองก็ถูกสร้างจนเสร็จสิ้นทั้งที่พม่าและไทยทางรถไฟไปเชื่อมต่อกันที่แก่งคอยท่าซึ่งห่างจากด่านเจดีย์สามองค์ไม่มากทหารญี่ปุ่นตัวอ้วนพีเริ่มพิธีเปิดเป็นทางการใหญ่โตตะปูหมุดเหล็กตัวสุดท้ายถูกตอกเข้ากับไม้หมอนทางรถไฟสายนี้สร้างเสร็จด้วยระยะทางที่ทะลุพื้นที่ป่าถึง 415 กิโลเมตรสร้างสะพานด้วยเหล็กและซุง 688 แห่งมูลค่าเป็นชีวิตมนุษย์ที่สังเวยไปประมาณค่ามิได้มีการประมาณว่าเชลยสงครามจากฝ่ายพันธมิตรประมาณ 12,800 นายและแรงงานกรรมกรชาวเอเชียอีก 90,000 คนต้องสังเวยชีวิตให้กับการสร้างทางรถไฟสายนี้

ความตายเกิดขึ้นเป็นรายวันแรงงานที่ยังมีชีวิตอยู่และยืนได้มีเพียงความหวังที่จะได้นั่งรถไฟสายนั้นออกจากพื้นที่ในขณะยังมีลมหายใจอยู่ร่างกายที่อ่อนระทวยยังเต็มไปด้วยวิญญาณแห่งนักสู้ที่ไม่ยอมแพ้กับความตาย

นายแพทย์โรวรี่ริชาร์ดอธิบายความรู้สึกตอนนั้นว่า

“ สิ่งสำคัญสิ่งเดียวที่คาดว่าทำให้เรามีชีวิตอยู่ได้เพื่อความอยู่รอด

ก็คงเป็นเป็นความหวังและก็การรักษาความหวังนั้นไว้

เคยมีคำพูดที่ว่าเราจะกลับบ้านไปร่วมฉลองวันคริสต์มาส

ไปงานวันเกิดของคุณยายไปงานเทศกาลอีสเตอร์วันแอนแซกค์เดย์

การรักษาความหวังไว้เช่นนั้น

ทำให้พวกเราสามารถยืดเวลากับมัจจุราชออกไปได้อีก

 

ทุกคนมีบางสิ่งหรือคนที่พิเศษที่ตนต้องกลับไปหาที่บ้านให้ได้คุณจอห์นวาร์รี่จำเรื่องเพื่อนร่วมค่ายของเขาได้ว่า

“ เรามีเพื่อนทหารนายหนึ่งซึ่งเคยทำให้พวกเราแทบบ้า

เขาเคยแต่เฝ้าพร่ำถึงภรรยาของเขาคุณจีนนี่และก็ร้องเป็นเพลงออกาว่า

เขาฝันถึงภรรยาผู้มีผมสวยสีน้ำตาลพวกเราได้ยินนายนี่ร้องเพลงพร่ำถึงภรรยาจนเบื่อ

แต่เขาก็ไม่เคยละทิ้งความหวังที่ว่าสักวันหนึ่งเขาจะกลับไปหาภรรยา

ผมจำเขาได้แต่แม๊กเบนนามสกุลเขาเท่านั้น

ประมาณเดือนกันยายนพ.ศ. 2486 ทหารญี่ปุ่นก็อนุญาตให้ผู้ป่วยไปรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลของฐานทัพได้แต่บางคนก็ป่วยเกินกว่าจะเดินทางไหวและในเดือนธันวาคมปีเดียวกันเชลยสงครามก็ถูกส่งกลับทางเรือไปสิงคโปร์การจากไปครั้งนั้นเป็นเรื่องยากเหลือเชื่อคุณเรย์พาร์คินเขียนไว้ว่า

“พวกเราหลายคนขณะยืนอยู่ที่หุบเขาแควน้อยถึงแม้ว่าจะเป็นเส้นที่รถไฟสายปัจจุบันวิ่งผ่านนึกถึงเพื่อนเราหลายคนที่ถูกสังเวยชีวิตกับป่าที่แห้งเกรียมไร้ใบแห่งนี้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นอุโมงค์สีเขียวที่เต็มไปด้วยพื้นโคลนสีดำซึ่งดูเหมือนจะดูดชีวิตพวกเราเหมือนทรายดูดและไม่ยอมให้เราโผล่ขึ้นมาได้อีกสุสานที่เราฝังเพื่อนเชลยของเราในปัจจุบันได้รับการปรับแต่งให้แลดูประณีตสวยงามในสมัยนั้นเราทำงานหนักเพื่อให้พวกเขาได้มีที่พักพิงถาวรเป็นที่ที่สงบเป็นระเบียบและมีเกียรติซึ่งพวกเขาไม่ได้รับตอนที่เสียชีวิตไปตอนฤดูมรสุมเข้าปีต่อไปป่าก็คืบคลานเข้ามาบนหลุมฝังศพและได้ปกคลุมพื้นที่เล็กๆที่น่าสงสารแห่งนี้อีกครั้งบางทีอาจมีดอกไม้สีแดงบานออกมาสักดอกเพื่อให้นกมาดื่มน้ำหวานจากเกสรก็ได้”

ในปี พ.ศ. 2488 ในเวลาไม่ถึงสองปีหลังจากที่ทางรถไฟสายนี้สร้างเสร็จกลุ่มพันธมิตรเริ่มเข้าถล่มพื้นที่ด้วยระเบิดสะพานขนาดใหญ่จะถูกระเบิดก่อนทางรถไฟจึงไม่มีประโยชน์อีกต่อไปหลังจากที่ทหารญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามรัฐบาลไทยได้ยึดเส้นทางรถไฟที่ชำรุดนี้มาแต่ให้บริการเพียงแค่ถึงสถานีน้ำตกเท่านั้นรางรถไฟสายนี้ยังอยู่ให้เป็นอนุสรณ์ความทรงจำของเส้นทางรถไฟสายมรณะเส้นเดิมที่ถูกตัดขาดรื้อเป็นเศษเหล็กและถูกปล่อยให้ผุพังไปตามกาลเวลาในป่า

คณะกรรมการสุสานสงครามแห่งประเทศออสเตรเลียได้จัดสุสานอย่างมีเกียรติขึ้นที่จังหวัดกาญจนบุรีประเทศไทยและที่ตำบลช่องไก่และทันบูซายัดที่ประเทศพม่าซึ่งปัจจุบันเป็นที่ฝังศพของเชลยสงครามสำหรับผู้เคยถูกฝังเป็นกลุ่มหรือในสุสานตามค่ายแรงงานต่างๆ

Go to top
JSN Dona 2 is designed by JoomlaShine.com | powered by JSN Sun Framework