สถานีที่ 13 / 25 หลังสงคราม

ในปี พศ. 2487 ถึง 2488 ทางรถไฟถูกใช้ในการขนส่งเสบียง เพื่อกองกําลังญี่ปุ่นในพม่า หลังสงครามจบลงถูกใช้ในการขนเชลยจากหลายพื้นที่ในพม่า มายังประเทศไทย และมาเลเซีย ทางรถไฟยังถูกใช้สำหรับคณะสำรวจของคณะกรรมการดูแลสุสานสงครามของฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งรับหน้าที่อันน่าเศร้า ในการตามหาและกู้ร่างของเชลยที่เสียชีวิต คณะสำรวจนี้ประกอบด้วยนายทหารชาวอังกฤษ ออสเตรเลีย ดัตช์และชนชาติอื่นๆ รวมถึงอาสาสมัครและล่าม พวกเขาต้องระบุตำแหน่งของหลุมฝังศพมากมายตลอดเส้นทางรถไฟ การทำเช่นนั้นได้ พวกเขาต้องหาข้อมูลจากบันทึกของกองทัพญี่ปุ่นและทหารญี่ปุ่นที่ยอมแพ้ และพูดคุยกับเชลยจำนวนมาก ก่อนที่พวกเขาจะได้รับการส่งกลับประเทศ น่าทึ่งที่เหล่าเชลยได้จดบันทึกทุกอย่างไว้อย่างละเอียด ทุกที่ที่ทำได้ระหว่างถุกคุมขัง เนื่องจากทหารญี่ปุ่นให้ความเคารพกับผู้ตายและหวาดกลัวโรคติดต่อ จึงเปิดโอกาสให้มีการฝังบันทึกและเอกสารอื่นๆ ที่บอกเล่าเรื่องราวความโหดร้าย และมีข้อมูลระบุตำแหน่ง สถานที่ฝัง โดยที่ทหารญี่ปุ่นไม่รู้

รอยด์ ไวท์คอร์ส เล่าถึงวิธีที่เชลยใช้ทำสัญลักษณ์ ระบุตำแหน่งหลุมฝังศพ “พวกนั้นวางแผนว่าหลุมฝังศพควรอยู่ตรงไหน โดยใช้เข็มทิศ และตลอดเส้นทางรถไฟจะมีหลักกิโลอยู่ พอเจอที่ที่อาจเป็นสุสาน พวกเขาจะไปดูหลักกิโลนั่น และใช้มาตรฐานวัดที่แม่นยำตามที่วิศวกรเคยได้ทำไว้ พวกเขาก็สามารถขุดศพขึ้นมาได้”

ทีมสำรวจสุสานสงครามของฝ่ายสัมพันธมิตรหวังว่าจะพบหลุมฝังศพทั้งหมด 10,601 หลุม พวกเขาออกจากอำเภอบ้านโป่งในประเทศไทย ในวันที่ 22 กันยายน ปี พศ. 2488 เพื่อไปยังทันบูซายัตในประเทศพม่า และเดินทางกลับมาในประเทศไทยโดยใช้เวลา 2 สัปดาห์

ในสุสาน 144 แห่ง พวกเขาระบุและทำสัญลักษณ์หลุมฝังศพ 10,549 หลุม มีอีก 52 หลุมศพเท่านั้นที่ยังค้นไม่พบ

ผู้มีอำนาจในฝ่ายสัมพันธมิตร ตั้งใจที่จะนำร่างผู้เสียชีวิต จากสงครามมาฝังไว้ในสุสาน 3 แห่ง

สุสานทันบูซายัต ในพม่า คือสถานที่พักผ่อนสุดท้าย ของฝ่านสัมพันธมิตรที่เสียชีวิตระหว่าง เมาะลำเลิง และมีเทีย

สุสานช่องไก่ บนแม่นํ้าแควน้อยในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งสุสานของโรงพยาบาลในระหว่างสงคราม และหลุมศพส่วนใหญ่ที่นั้นก็เป็นที่ฝังผู้ที่เสียชีวิตระหว่างการเข้ารับการรักษา

สุสานกาญจนบุรี ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในสุสานทั้ง 3 แห่ง ถูกสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงทหารของเครือจักรภพที่เสียชีวิตมาจากทางใต้ ของเส้นทางรถไฟระหว่างกรุงเทพมหานครและนิเกะ สุสานนี้ยังมีหลุมฝังศพของทหารชาวดัตช์ด้วย

ส่วนผู้ที่สูญหายไม่พบศพจะได้รับการสดุดี ด้วยป้ายหลุมศพที่เขียนว่า ทหารแห่งสงครามปีพุทธศักราช 2482 – 2488 มีพระเจ้าเป็นผู้รับรู้

เถ้ากระดูกของศพที่ได้รับการฌาปนกิจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเหยื่อที่เสียชีวิตจากอหิวาตกโรค จะถูกนำมาฝังไว้ในหลุมศพรวม ทหารอเมริกันที่เสียชีวิต ถูกส่งกลับไปยังสหรัฐอเมริกา

ซีริล กิลเบิร์ต กลับมาประเทศไทยหลายครั้งในช่วงหลายสิบปี หลังจบสงครามเพื่อเยี่ยมเยียนสุสานในกาญจนบุรี “ผมไปประเทศไทยอยู่บ่อยๆแล้วไปเยี่ยมหลุมฝังศพเพื่อนๆของผมทุกคน นํ้าตาจะไหลอาบหน้าผมอยู่ตลอดเวลา”

 

ทุกวันนี้สุสานสงครามกาญจนบุรี เป็นสุสานของคระกรรมกราของเครือจักรภพที่มีผู้มาเยี่ยมเยียนมากที่สุด

ระหว่างที่คุณเดินกลับไปที่ศูนย์ฯ สถานีที่ 14 / 26 ซึ่งเป็นสถานีต่อไป จะบอกเล่าเรื่องราวของคนที่ได้กลับบ้าน

 

Go to top
JSN Dona 2 is designed by JoomlaShine.com | powered by JSN Sun Framework