สถานีที่ 801. อหิวาตกโรค

ในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2486 อหิวาตกโรคได้แพร่ระบาด ตามแนวทางรถไฟ

วิลเลี่ยม นันโควิต “เวลาที่อหิวาตกโรค เข้าจู่โจม ทุกอย่างมันเกิดขึ้นรวดเร็วจริงๆ คนบางคนอาจมีชีวิตอยู่ในคืนนี้แล้วตายในเช้าวันรุ่งขึ้นก็ได้ มันรวดเร็วขนาดนั้นเลย และนี่ก็เป็นอีกตัวอย่างที่เน้นยํ้าจิตวิญญานของชาวออสเตรเลีย แพทย์ของเราไม่เคยยอมแพ้เขาทุ่มเทให้กับการรักษามากจนถึงแม้จะติดวัณโรคจากคนไข้ เขาก็ยังทำงานเพื่อดูแลและรักษาเพื่อนเชลยด้วยกัน เขาก่อตั้งค่ายสำหรับคนเป็นอหิวาตกโรค แม้นจะรู้ถึงอันตรายของการติดเชื้อนี้ดี เขาขอให้อาสาสมัครมาคอยดูแลคนไข้ในค่ายอหิวาตกโรคซึ่งอยู่บนเนินเหนือที่ ที่อาสาสมัครคนอื่นอยู่”

ในบรรดาเชลยกลุ่มต่างๆที่ก่อสร้างทางรถไฟ เชลยชาวออสเตรเลียคือกลุ่มที่ควบคุมการแพร่ระบาดของอหิวาตกโรคได้ดีที่สุด

นายแพทย์ ปีเตอร์ เฮนรี่ “ทหารชาวออสเตรเลียทุกคนรับวัคซีนอหิวาตกโรคก่อนที่จะออกจากบ้าน มีบางคนที่เลี่ยงไม่ยอมรับวัคซีนนี้ เพราะไม่ชอบการฉีดยา พวกเขาคือคนที่เสียชีวิตด้วยโรคนี้

ชาวออสเตรเลีย ยังได้ประโยชน์จากการสร้างสุขอนามัยที่เข้มงวดที่สุดเท่าที่จะทำได้ในสถานการณ์นั้น คือไม่มีใครกินอาหารจนกว่าจะได้จุ่มหม้อสนามลงในนํ้าร้อนก่อน เชลยชาติอื่นๆนำวิธีการนี้ไปใช้ แต่โรคก็ยังแพร่ระบาด แพทย์จึงถูกบีบให้ต้องหาวิธีทำให้ผู้ป่วยอหิวาตกโรคไม่ขาดนํ้า

วิลเลี่ยม นันเคอร์วิต “ผมเคยมีโอกาศได้ช่วยฉีดนํ้าเกลือเพื่อรักษาอหิวาตกโรค เฉือนข้อเท้าของเขา แล้วเปิดเส้นเลือด ใช้เข็มที่ทำจากไผ่ ทำกรวยจากไผ่ และเปิดเส้นเลือด แล้วสอดเข็มไผ่เข้าไป ก่อนจะเทนํ้าเกลือลงในกรวย ผู้คนบอกว่ามันไม่ถูกต้องผมเห็นชายคนหนึ่งจะตายอยู่รอมร่อ แต่เขากลับลุกขึ้นมานั่งต่อหน้าผมได้ ผมเห็นจริงๆ”

แม้ทุกคนจะพยายามอย่างเต็มที่ แต่จำนวนผู้เสียชีวิตก็ยังสูงจนน่ากลัว

 

Go to top
JSN Dona 2 is designed by JoomlaShine.com | powered by JSN Sun Framework