สถานีที่ 14 / 26 การกลับบ้าน

เนื่องจากเชลยที่ได้รับการปล่อยตัวอยู่กระจัดกระจายกันไปทั่วพื้นที่แปซิฟิก และมีสุขภาพยํ่าแย่ การส่งพวกเขากลับประเทศ จึงเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน โครงการส่งตัวเชลยฝ่ายสัมพันธมิตรกลับประเทศ ได้จัดตั้งจุดรับตัวเชลยมาให้การรักษาทางการแพทย์ รับจดหมาย และจดบันทึกข้อมูลรายบุคคล

ในเดือนกันยายนและตุลาคม ปีพศ. 2488 มีเชลยที่ได้รับการปล่อยตัวประมาณ 14,000 คน ถูกส่งตัวกลับประเทศโดยส่วนใหญ่จะเดินทางทางเรือ

อาร์โท ทอม เพรชเชอร์ “นั่นเป็นครั้งแรกที่ผมได้เห็นซิสเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นพยาบาลร้องไห้ และเมื่อพวกเขาพาเราขึ้นไป นํ้าตาก็ไหลพราก เราผอมแห้งจนเหลือแต่กระดูก ผมยังเป็นโรคเหน็บชาอยู่เลย หรืออย่างแรกเลยน่ะคุณเคยพยายามคุยกับผู้หญิง หลังจากที่ไม่ได้เห็นหรือคุยกับผู้หญิงสักคนมาเกือบสี่ปีบ้างหรือเปล่า มันยากนรกแตกเลยล่ะที่จะพูดว่า หวัดดี!! หรือหาเรื่องมาคุยถ้าคุณตกเป็นเชลยและอยู่กับผู้ชายมาเกือบสี่ปี มันยากมาก”

เป็นเวลาหลายปีที่เหล่าเชลยเฝ้ารอคอยอิสรภาพ แต่การได้กลับบ้านจริงๆ อาจเป็นสิ่งที่ยากลำบาก

เฟรช สกิล “ผู้คนจะมองคุณแปลกไป แน่ละ พวกเขาเป็นแบบนั้น แม้แต่ในครอบครัวของผมเอง พ่อแม่ผม พวกเขาไม่รู้ว่าผมเป็นบ้าไปแล้ว กำลังจะเป็นบ้า หรือไม่รู้ว่าผมจะต้องมาเจออะไรแบบนี้ มันก็ตลกดี คุณรู้สึกได้ว่าพวกเขาไม่รู้จะปฏิบัติกับคุณยังไง ผมรู้ คืนแรกที่ผมกลับถึงบ้าน ผมเดินขึ้นไปบนชั้นสองแล้วอาบนํ้า ระหว่างนั้นพ่อผมเข้ามามองผมหัวจรดเท้าแล้วไม่พูดอะไรเลย เขาแค่มองผมแล้วไม่พูดอะไร”

โทมัส สมิธ “ผมได้นอนบนเตียงนุ่มๆแต่ผมนอนไม่หลับเลย ผมต้องเอาผ้าห่มไปปูบนพื้นเพื่อนอน ผมเคยชินกับเตียงแข็งๆ พออยู่บนเตียงนุ่มๆ ผมก็รู้สึกเหมือนตัวเองกำลังลอยอยู่ มันไม่ดีเลย ผมจึงเอาผ้าห่มไปปูบนพื้นนอน พอถึงอาหารมื้อแรกแม่ก็ทำเนื้อบน่าอร่อยมาให้เป็นอาหารเย็น แล้วมีมันฝรั่ง แครอท เคียงข้างอย่างน่ากินมาก แล้วผมก็ตัดเนื้อขึ้นมานิดหนึ่ง ก่อนจะเอามันเข้าปาก แต่ปรากฏว่าผมกินมันไม่ลง ผมไมสามารถแม้แต่จะเอามันผ่านริมฝีปากเข้าไปได้”

อดีตเชลยที่ได้กลับบ้าน ต้องปรับตัวเข้ากับชีวิตปกติ ท่ามกลางครอบครัวและคนในชุมชน ซึ่งไม่รู้เลยว่า พวกเขาได้เจอกับความโหดร้ายอะไรมาบ้าง ต้องถูกบีบให้ใช้ชีวิตในสภาพแบบไหน หรือต้องเจอโรคร้ายมากี่ชนิด

อรัญ เฮิร์ต “แท้จริงความเจ็บปวดที่เราได้รับ อยู่กับเราทั้งวันทั้งคืน ไม่มีอะไรที่หมอจะทำได้ พระเจ้ารึ!! จนถึงวันนี้นั่นคือเหตุผลที่ผมรู้สึกเหมือนเป็นนักโทษมาตลอดชีวิต หลายคนที่ได้กลับบ้านมีปัญหาเรื้อรัง และหลังสงครามไม่นาน อัตตราการเสียชีวิตในหมู่เชลยนั้นสูงกว่าทหารผ่านศึกกลุ่มอื่นๆ”

ทอม ยูเรน “เราเป็นตัวแทนของชาวออสเตรเลีย 4 เปอร์เซ็นที่ออกไปรบในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แต่เราเป็นตัวแทนของคน 30 เปอร์เซ็นที่ตายระหว่างออกไปรบในสงครามโลกครั้งที่สอง”

สำหรับหลายๆคน สงครามไม่ได้จบลงด้วยอิสรภาพ หรือการได้กลับบ้าน ผลกระทบทางร่างกายและจิตใจ จากสิ่งที่ได้ประสบ จะคงอยู่กับพวกเขาไปอีกหลายปี สำหรับบางคนสงครามไม่เคยจบลงเลย

สถานีที่ 15 / 27 คุณจะได้ฟังเรื่องราวของสิ่งที่ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทำ เพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาสู่กระบวนการยุติธรรม สำหรับความผิดที่ได้รับการตั้งชื่อใหม่ เป็นครั้งแรกว่า อาชญากรรมสงคราม

 

Go to top
JSN Dona 2 is designed by JoomlaShine.com | powered by JSN Sun Framework