สถานีที่ 1 คำแนะนำ

ศูนย์ประวัติศาสตร์ช่องเขาขาดและทางเดินอนุสรณ์สถานถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เชลยชาวออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร ดัชต์ และอเมริกัน รวมถึงแรงงานชาวเอเชียหลายพันคน ที่ถูกจับตัวและบังคับให้ทำงานก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมพม่า-ประเทศไทยให้กับกองทัพญี่ปุ่น

เสียงที่คุณได้ยินเป็นเสียงของบรรดาผู้รอดชีวิตจากการถูกคุมขังที่รู้จักกันในเวลาต่อมาว่า ทางรถไฟสายมรณะ

รอย คาร์ฮิล “เมื่อญี่ปุ่นเข้ายึดอินเดีย พวกเขาตัดสินใจส่งกองกําลังทหารไปทางรถไฟซึ่งจะเร็วกว่าการเดินทางอ้อมโดยเรือ”

การนำชมด้วยเครื่องโสตฯ ประกอบด้วยเรื่องราวและข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆบนทางเดินรวมถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับเชลยหลายพันคน เช่น

นิวตัน บลูอี บัตเตอร์เวิร์ด “ตอนที่ผมไปที่รางรถไฟนั่นเป็นครั้งแรก พวกนั้นก็กำลังถางป่าไผ่อยู่และพอคุณเห็นอะไรมากขึ้นเรื่อยๆ คุณก็จะคิดว่าพวกนั้นไม่มีทางสร้างมันได้ พวกนั้นไม่มีทางทำได้เลย แต่พวกนั้นก็ทำได้”

ทางเดินไปยังอนุสรณ์สถานช่องเขาขาดตั้งอยู่ที่ด้านล่างเป็นทางเดินเลียบตามทางรถไฟ สำหรับคนที่ต้องการเดินต่อไปอีก 2 กิโลเมตรเพื่อไปยังที่ตั้งของค่าย ซึ่งเป็นที่อาศัยของเชลยบางส่วนที่เป็นผู้สร้างทางรถไฟสายนี้นั่นคือค่ายหินตก

บิล เฮสเกล “ เราเดินทางไปยังบริเวณที่ปัจจุบันนี้เรียกว่าช่องเขาขาดหรือช่องไฟนรก แต่ตอนนั้นยังไม่มีชื่อเรียกอย่างงี้ เราเดินตามทางต่อไปอีก 3-4ไมล์ จนถึงสถานที่ ที่เรียกว่าหินตกและเราตั้งค่ายกันที่นั่น”

หากคุณต้องการเดินตามทางเดินอนุสรณ์สถานให้ครบทั้งเส้นทาง โปรดแจ้งให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ทราบ ทางเจ้าหน้าที่จะมอบวิทยุให้คุณพกติดตัว โปรดตระหนักว่าทางศูนย์ไม่มีรถบริการรับ-ส่ง และคุณจะต้องเดินกลับมาโดยใช้เส้นทางเดิม ทางเราขอเตือนว่าไม่อนุญาตให้สูบบุหรี่อย่างเด็ดขาดทั่วเขตป่าที่คุณเดินผ่าน

สถานีที่ 2 ซึ่งเป็นสถานีต่อไป อยู่ที่จุดบนสุดของบันไดที่จะพาลงไปยังช่องเขา โปรดเดินไปที่นั่นแล้วอ่านป้ายข้อมูล เกี่ยวกับสภาพของเส้นทาง เมื่ออ่านข้อมูลแล้ว โปรดตรวจสอบว่าคุณมีหมวก แผนที่และสวมรองเท้าที่เหมาะสมสำหรับการเดิน โปรดเตรียมนํ้าดื่มและครีมกันแดดให้พร้อม ก่อนเริ่มเดินลงไปยังช่องเขาขาด แต่ละสถานีบนเส้นทางจะมีจุดแวะฟังเรื่องราวมากขึ้น แต่คุณสามารถเดินต่อไปขณะที่ฟังการนำชมนี้ได้

 

Go to top
JSN Dona 2 is designed by JoomlaShine.com | powered by JSN Sun Framework