สถานีที่ 17 เส้นทางสู่แควน้อย

ตอนนี้คุณกําลังเดินตามรางรถไฟเก่า ขณะที่เดินคุณสามารถฟังการนำชมนี้ได้ สะพานตอม่อที่มีความยาวเกือบ 200 เมตรเคยตั้งอยู่ที่นี่ หากคุณเดินไปทางขวาอีกเล็กน้อยจะมีรูขนาดใหญ่ที่ถูกเจาะเข้าไปในเนื้อหิน รูเหล่านี้เคยรองรับเสาคํ้า รับนํ้าหนักสะพาน

อาร์เทอร์ เบนคอร์ป “หมุดตอกสะพานทั้งหมดถูกตอกด้วยมือ พวกนั้นใช้ไม้ที่ตัดจากในป่า มันแข็งแรงพอที่จะยึดทางรถไฟไว้ได้ มันมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 18 นิ้ว ถึง 2 ฟุต และในค่ายบางแห่งพวกนั้นจะใช้ช้างมาลากซุงไป จากนั้นจะมีคนมายกซุงแล้วเอาไปวางไว้ตามจุด”

เชลยจะต้องเดินผ่านพื้นหินไปยังเนินแควน้อย วันแล้ววันเล่า ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยส่วนใหญ่จะต้องเดินเท้าเปล่าท่ามกลางความร้อนและมรสุมของเขตร้อน

อาร์เทอร์ เบนคอร์ป อีกครั้ง “ผมว่าส่วนที่ยากที่สุดคือการวางเหล็กสีฟ้า ไอ้เหล็กสีฟ้าที่คุณเห็นบนรางรถไฟนั่นแหละ เราต้องเอาทั้งหมดนั่นไปวาง แล้วตอกมันเข้าไปใต้หมอนและใต้รางรถไฟ และนั่นก็เป็นงานที่หนักหนาสาหัสมาก โดยเฉพาะเมื่อคุณต้องทำงานเท้าเปล่า”

รองเท้าบู้ทส่วนใหญ่ได้ผุพังไปหมด และเหล่าเชลยต้องเดินตามทางด้วยเท้าเปล่า เสื้อผ้าอะไรก็ตามที่เชลยใส่มา ได้ฉีกขาดและเปื่อยยุ่นไปหมดแล้ว ในที่สุดกองทัพญี่ปุ่น ก็ทำการแจกผ้าเตี่ยวที่ทำจากผ้าฝ้าย ดูคล้ายกับกางเกงในจีสตริง ซึ่งเหล่าเชลยเรียกกันว่า เตี่ยวพวกยุ่น และใส่มันระหว่างการทำงาน

จอร์น วู้ส “คุณจะไม่ได้ใส่กางเกงขาสั้นหรือขายาวตอนไปทำงานบนทางรถไฟ เพราะมันไม่มีเหลืออีกแล้ว คุณจึงต้องใส่ผ้าเตี่ยวขณะทำงานบนทางรถไฟ”

แสงสว่างของกลางวัน และในความมืดมิดของเวลากลางคืน พวกเขาต้องเดินผ่านที่นี่เพื่อไปทำงาน กลับมาจากทำงานแบกหินใหญ่น้อย ไม่ก็แบกไม้หมอนที่ทำจากไม้สักขนาดหนัก

จอร์น วู้ส อีกครั้ง “ไม้หมอนทุกชิ้นถูกเจาะมาล่วงหน้าโดยใช้หมุดรางรถไฟ ปกติจะใช้คน 3 คน คนหนึ่งถือ แชลง อีกคนถือแผ่นไม้ แล้วคนที่ 3 ถือค้อน แล้วพวกเขาก็จะใช้ค้อนตอกหมุดเข้าไป”

โปรดเดินต่อไปยังเนินแควน้อยซึ่งเป็นสถานที่ที่ดีสำหรับการหยุดพักและชมทิวทัศน์

Go to top
JSN Dona 2 is designed by JoomlaShine.com | powered by JSN Sun Framework